“ร่วมพิธีมอบโค-กระบือ โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566”
วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ บ้านหนองบัว ตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีมอบโค-กระบือ โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
โดยในวันนี้ ได้มีการส่งมอบโค-กระบือ จำนวน 79 ตัว เป็นโคเพศเมีย จำนวน 54 ตัว และ กระบือ 25 ตัว เพื่อนำไปให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรภายใต้ระเบียบ และหลักเกณฑ์ ของโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ และ มอบกรรมสิทธิ์แม่โค-กระบือ แก่เกษตรกร ที่ปฏิบัติตามสัญญาครบ 5 ปี จำนวน 5 อำเภอ 155 ราย นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกรมปศุสัตว์รับสนองพระราชดำริ ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีโค-กระบือ ไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้ว 340,652 ราย มอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือให้แก่เกษตรกรไปแล้ว 156,840 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท และยังมีเกษตรกรอยู่ในความดูแลของโครงการ 116,771 ราย จำนวนโค-กระบือ 162,426 ตัว โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบกับมีการทำงาน บูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นา การทำแก๊สชีวภาพ การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น
ทังนี้ แรงงานจังหวัดมหาสารคาม (นางสาววิไลวรรณ เทียงดาห์) เข้าร่วมพิธีฯ ในครั้งนี้ด้วย